FAQ
การเตรียมตัวศึกษาต่อ
สารบัญ
ข้อมูลพื้นฐาน
กรุณาอ้างอิงจาก "กำหนดการจนถึงการไปศึกษาต่อ" ที่ลงไว้ในหน้าเพจด้านล่างนี้ เพื่อที่จะไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่นตามที่หวัง การเตรียมตัวก่อนถือเป็นสิ่งสำคัญ แนะนำให้เริ่มเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ
1. การดูเอกสารข้อมูลการศึกษาต่อ
สามารถดูเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่หลากหลายได้ที่สถานทูตญี่ปุ่น สถานกงสุลใหญ่ที่อยู่ในต่างประเทศ เอกสารหลักๆ ตามด้านล่างนี้
- ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาต่อในญี่ปุ่น (เช่น การเตรียมตัวศึกษาต่อ สถาบันการศึกษา ขั้นตอนการเข้าประเทศ การใช้ชีวิต )
- เอกสารเกี่ยวกับระบบการศึกษาของญี่ปุ่น
- เอกสารเกี่ยวกับทุนการศึกษา
- ข้อมูลเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัย (เช่น โรงเรียน และการแนะนำโรงเรียน) บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค (KOSEN) โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น
- ข้อมูลเกี่ยวกับหอพัก
- โจทย์ในการสอบเข้าของปีก่อนๆ (ตัวอย่าง)
2. การแนะนำข้อมูลโดยผู้ให้คำแนะนำแก่นักศึกษาต่างชาติ
สถานทูตญี่ปุ่นและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศที่มีนักศึกษาต่างชาติเยอะ จะมีผู้ที่มีประสบการณ์การศึกษาต่อที่ญี่ปุ่นและผู้ให้คำแนะนำที่รู้เรื่องการศึกษาในญี่ปุ่นและสถานการณ์ของญี่ปุ่นอย่างละเอียด(พนักงานนอกเวลา) คอยตอบคำถามแต่ละประเภทและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาต่อในญี่ปุ่น
นอกจากนี้ เนื่องจากไม่ใช่แค่ในเมืองหลวง แต่ในเมืองใหญ่ของภูมิภาคก็มีการจัดงานสัมมนาส่วนภูมิภาคปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง กรุณาสอบถามจากสถานทูตญี่ปุ่น
ในบรรดาภูมิภาคเหล่านั้น โดยเฉพาะในสถานทูต 6 แห่งที่มีนักศึกษาต่างชาติจำนวนมาก ได้แก่ จีน (ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้) เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย จะมีการก่อตั้ง "มุมให้ข้อมูลการศึกษาต่อในญี่ปุ่น" และมีพนักงานประจำที่เป็นผู้ให้คำแนะนำคอยนำเสนอข้อมูลและให้คำปรึกษา
กรุณาค้นหาสถานทูตญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้ๆ จากโฮมเพจด้านล่าง
ในเดือนธันวาคม ปี 1996 มีการยกเลิกระบบผู้ค้ำประกันสำหรับการเข้าประเทศและพำนัก ในการเข้าประเทศเพื่อการศึกษาต่อในญี่ปุ่นจึงไม่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน
ทว่า ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกันในหลายๆ สถานการณ์ในการใช้ชีวิต รวมถึงมีความจำเป็นในตอนที่จะเช่าอพาร์ทเม้นท์ ตอนที่ดำเนินการสอบเข้ามหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวศึกษา รวมถึงการเข้าศึกษา
นอกจากนี้ หลังจากเข้าศึกษาแล้วก็ยังจำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกันในตอนที่ยื่นขอทุนการศึกษาหรือส่วนลดค่าเล่าเรียนด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกันในการเข้าประเทศและพำนัก แต่มีหลายๆ สถานการณ์ที่มีความจำเป็นในการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น (ซึ่งนักเรียนญี่ปุ่นเองก็มีความจำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกันเช่นกัน)
ถ้าต้องการศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น ควรตรวจสอบกับสถาบันที่จะเข้าศึกษาเตรียมไว้ตั้งแต่ตอนที่จะมาญี่ปุ่นเกี่ยวกับผู้ค้ำประกันหลังเข้าญี่ปุ่น
เช่น กรณีที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น มีกรณีที่โรงเรียนเป็นผู้ค้ำประกันให้ระหว่างที่ศึกษาอยู่
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่สร้างระบบผู้ค้ำประกันร่วมกันของนักศึกษาต่างชาติ โดยมีสมาคมทำพื้นที่เป็นสากลเป็นศูนย์กลาง ขึ้นอยู่กับพื้นที่
เนื่องจากสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการศึกษาต่อที่ญี่ปุ่นและค่าใช้ชีวิตในญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานที่หน้าเพจด้านล่างนี้ กรุณาใช้อ้างอิง
เนื่องจากมีการแนะนำขั้นตอนการเข้าประเทศแบบคร่าวๆ ในหน้าเพจด้านล่างนี้ กรุณาดูอ้างอิง
กรณีที่มาญี่ปุ่นเพื่อเข้ารับการสอบ ก่อนจะเข้าญี่ปุ่น จำเป็นต้องนำบัตรประจำตัวผู้สอบของโรงเรียนที่จะเข้ารับการสอบไปที่สถานทูตญี่ปุ่นเพื่อรับวีซ่า "พำนักระยะสั้น"
ระยะเวลาที่สามารถพำนักได้คือ 15 วัน 30 วัน หรือ 90
วันทว่า ประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าไม่จำเป็นต้องยื่นเรื่องขอวีซ่า
*โดยพื้นฐาน หลังจากสอบผ่านแล้ว จำเป็นต้องกลับประเทศก่อนรอบหนึ่งเพื่อยื่นขอวีซ่าสถานภาพการพำนักประเภท "College Student"
สถาบันการศึกษาและระบบการศึกษาของญี่ปุ่น
กรุณาตรวจสอบที่หน้าเพจด้านล่าง
นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ของ National Information Center for Academic Recognition Japan (NIC-Japan) จะระบุข้อมูลที่เกี่ยวกับ โครงสร้างระบบการศึกษาของญี่ปุ่น ประเภทของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา วุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา การเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
หน้าเพจด้านล่างนี้จะระบุวุฒิการศึกษาและประกาศนียบัตรที่สามารถรับได้ กรุณาตรวจสอบ
สามารถค้นหาโรงเรียนโดยระบุความต้องการของคุณ เช่น วิชาหรือที่อยู่ของโรงเรียน ด้วยฟัง
ก์ชั่นการค้นหาด้านล่างนี้กรุณาใช้สิ่งนี้ให้เป็นประโยชน์
หน้าเพจด้านล่างนี้มีการอธิบายเกี่ยวกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา (สถาบันอาชีวศึกษา (การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษา)) กรุณาตรวจสอบ
หน้าเพจด้านล่างนี้มีการอธิบายเกี่ยวกับวิทยาลัยเทคนิค (KOSEN) กรุณาตรวจสอบ
หน้าเพจด้านล่างนี้มีการอธิบายเกี่ยวกับสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น กรุณาตรวจสอบ
หน้าเพจด้านล่างนี้ ระบุเกี่ยวกับเอกสารการสมัครทั่วไปและการสอบเข้า
ทว่า เอกสารการสมัครและเนื้อหาการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน ดังนั้นกรุณาติดต่อสอบถามโรงเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาโดยตรง
มหาวิทยาลัย(ระดับปริญญาตรี) และวิทยาลัยอนุปริญญา
ความสามารถ/ข้อสอบ/คุณสมบัติ
มหาวิทยาลัยและบัณฑิตวิทยาลัยกำลังเพิ่มจำนวนโปรแกรมที่ทำให้สามารถได้รับวุฒิการศึกษาได้โดยใช้ภาษาอังกฤษ
กรณีที่ต้องการเข้าศึกษาในโปรแกรมที่สามารถได้รับวุฒิการศึกษาได้โดยใช้ภาษาอังกฤษ มีกรณีที่ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถภาษาญี่ปุ่นอยู่เยอะ
กรณีที่ต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่นหรือทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ว่ากันว่าอย่างน้อยต้องมีผลสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 และต้องได้คะแนนวิชาภาษาญี่ปุ่น (ไม่รวมส่วนที่เป็นการเขียนบรรยาย)ของการสอบเพื่อศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น (EJU) ประมาณ 250 คะแนน แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่แนวทางเท่านั้น
เกี่ยวกับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน ดังนั้นกรุณาติดต่อสอบถามโรงเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาโดยตรง
สามารถเข้าสอบได้ใน 13 ประเทศและ 17 เมืองใหญ่ รายละเอียดกรุณาตรวจสอบที่หน้าเพจด้านล่างนี้
เพื่อที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย(ระดับปริญญาตรี) วิทยาลัยอนุปริญญา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาในญี่ปุ่น โดยทั่วไปจะต้องสำเร็จการศึกษาในหลักสูตร 12 ปีของการศึกษาในโรงเรียนตามกฎหมาย
(การเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยเทคนิคต้องจบหลักสูตร 11 ปี การเข้าศึกษาต่อในบัณฑิตวิทยาลัย (หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต โดยทั่วไปต้องจบหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน 16 ปี) )
กรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นเวลา 10 หรือ 11 ปี จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้เพื่อลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น
1)ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษาก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศเดิมหรือในสถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 1 หรือ 2 ปี และสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปีที่ 12 ในโรงเรียนตามกฏหมาย
2)สำเร็จหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา (* 1) ที่กำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เฉพาะผู้ที่จบหลักสูตรเทียบเท่ากับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในญี่ปุ่น)
ทว่า เกี่ยวกับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นไม่ถึง 12 ปี กรณีที่สำเร็จหลักสูตร (* 2) ของโรงเรียนในต่างประเทศที่รองรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศซึ่งกำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถึงแม้จะไม่ได้เรียนจบหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษาก็ถือว่ามีคุณสมบัติในการเข้าศึกษา
รายละเอียดกรุณาตรวจสอบด้านล่างนี้
ทุนการศึกษา
ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (MEXT) ทุนสำหรับนักศึกษาต่างชาติทุนส่วนตัว รวมถึงทุนที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่จะศึกษาต่อภายใต้ข้อตกลงร่วม
รายละเอียดกรุณาตรวจสอบที่หน้าเพจด้านล่างนี้
ถึงจะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีทุนการศึกษาที่สมัครจากนอกประเทศญี่ปุ่น(ก่อนมาญี่ปุ่น)ได้
รายละเอียดกรุณาตรวจสอบในหน้าเพจด้านล่างนี้。
นอกจากนี้ ในแผ่นพับทุนการศึกษาประเทศญี่ปุ่นยังมีรายชื่อหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาระบุไว้ด้วย กรุณาดาวน์โหลดเพื่อตรวจสอบ
กรณีที่ไม่พบคำตอบในคำถามที่พบบ่อย
โปรดติดต่อผ่านช่องทางด้านล่าง