การใช้ชีวิตในญี่ปุ่น

ที่อยู่อาศัย

มีหอพักนักเรียนที่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนบริหาร แต่ 79% ของนักเรียนต่างชาติจะอาศัยอยู่ในที่พักของเอกชนหรืออพาร์ทเม้นท์ หลังจากทราบผลการสอบผ่านแล้ว รีบรวบรวมข้อมูลที่พักกันเถอะ
วิธีรวบรวมข้อมูลคือ ①เคาน์เตอร์ดูแลนักเรียนแลกเปลี่ยนของโรงเรียน ②อินเทอร์เน็ต นิตยสารข้อมูล ③บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ที่ตนเองต้องการอยู่อาศัย

หอพักนักเรียน

ข้อดี

  • เทียบกับอพาร์เม้นท์แล้วค่าใช้จ่ายน้อยกว่า (ไม่ต้องเสียเงินค้ำประกัน เงินให้เปล่าในการเช่าบ้าน และค่าต่ออายุ)
  • มีกรณีที่มีเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าติดตั้งไว้แล้ว

ข้อเสีย

  • เนื่องจากจำนวนห้องมีจำกัด ผู้ที่ต้องการเข้าพักจึงไม่สามารถเข้าพักได้ทุกคน
  • มีกฎ เช่น เวลาปิดประตูและเวลาตื่นนอน
  • ห้องครัว ห้องน้ำ และห้องอาบน้ำเป็นแบบรวม

อพาร์ทเม้นท์

ข้อดี

  • สามารถใช้ชีวิตในแบบที่ชอบได้
  • มีความตระหนักรู้เรื่องเงิน

ข้อเสีย

  • มีหลายกรณีที่จำเป็นต้องจ่ายเงินค้ำประกัน (ส่วนของค่าเช่าหลายเดือน บางที่เรียกว่าเงินประกัน) เงินให้เปล่าในการเช่าบ้าน และค่าธรรมเนียมนายหน้า
  • ขั้นตอนการทำสัญญาเช่าซับซ้อน
  • จำเป็นต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง

ค่าที่พัก แบ่งตามภูมิภาคที่อยู่

ภูมิภาค ค่าเฉลี่ยค่าเช่าที่พัก (เยน)
ค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ 38,000
โตเกียว 50,000
ฮอกไกโด 30,000
โทโฮคุ 34,000
คันโต 44,000
ชูบุ 29,000
คิงกิ 37,000
ชูโงกุ 27,000
ชิโกกุ 24,000
คิวชู 26,000
ที่มา: การสำรวจสภาพความเป็นอยู่จริงของนักศึกษาต่างชาติทุนส่วนตัวประจำปี 2021 (JASSO)

วันพ้อยท์แอดไวซ์

เกณฑ์ค่าใช้จ่ายของที่พัก (รายเดือน)

หอพักนักเรียน: ค่าหอ 28,000 เยน (กรณีของศูนย์การสอนภาษาญี่ปุ่นโตเกียว JASSO)

อพาร์ทเม้นท์: ต่างกันมากขึ้นอยู่กับความนิยมของสถานีและระยะทางจากสถานี ปีที่ก่อสร้าง
ถ้าเป็นต่างจังหวัดจะสามารถหาได้ในระดับราคา 3-4 หมื่นเยน แต่ถ้าหาอพาร์ทเม้นท์ในโตเกียวเกณฑ์จะอยู่ที่การหาภายใน 6 หมื่นเยน

การทิ้งขยะ: ที่ญี่ปุ่นมีกฎในการทิ้งขยะที่เข้มงวด หากไม่ระวังอาจมีปัญหากับผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกันได้ มาแยกขยะและนำไปทิ้งในสถานที่และเวลาที่กำหนดกันเถอะ

ผู้ค้ำประกันร่วม

ที่ญี่ปุ่น เวลาจะเช่าอพาร์ทเม้นท์ โดยทั่วไปต้องมี "ผู้ค้ำประกันร่วม" กรณีที่คุณไม่ได้จ่ายค่าเช่าในวันที่กำหนด หรือไม่จ่ายค่าซ่อมแซมเมื่อทำอุปกรณ์ในห้องเสียหาย เจ้าของบ้านจะเรียกร้องให้ "ผู้ค้ำประกันร่วม" เป็นผู้จ่าย
มีระบบที่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน (สถาบันและผู้สอน) ทำหน้าที่ ผู้ค้ำประกันร่วมให้ กรณีที่นักศึกษาต่างชาติไม่ค่อยมีคนรู้จักในญี่ปุ่น
นอกจากนี้ มีกรณีที่ไม่จำเป็นต้องมี "ผู้ค้ำประกันร่วม" โดยการทำสัญญาจ่าย "ค่าประกัน"

ค่าชดเชยต่างๆ ในการอยู่อาศัยของนักเรียนต่างชาติ (ค่าชดเชยการอยู่อาศัยนักเรียนต่างชาติ)

เป็นประกันที่ทำให้ ความรับผิดชอบในการชดเชยค่าเสียหายที่เตรียมการไว้ในกรณี เช่น ไฟไหม้และผู้ค้ำประกันร่วมลดลง ประกันนี้เป็นระบบของ ความร่วมมือสนับสนุนการศึกษานานาชาติของญี่ปุ่น

*เนื่องจากมีกรณีที่ใช้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโรงเรียน กรุณาลองตรวจสอบกับโรงเรียน

ข้อสังเกตในการหาที่พัก

  1. ค่าเช่า ค่าใช้จ่ายช่วงแรก
  2. ระยะห่างจากโรงเรียนและเวลาไปโรงเรียน
  3. ความกว้างของห้องและอุปกรณ์
  4. ความสะดวกของสภาพแวดล้อมรอบๆ (เช่นใกล้รถไฟ ซื้อของง่าย)

ในเว็บไซต์นี้ จะทำการใช้คุกกี้เพื่อทำการนำเสนอการบริการที่ดีแก่ผู้ใช้งาน
กรณีที่จะรับข้อกำหนดคุกกี้ กรุณาคลิก“ยอมรับ”เกี่ยวกับการตั้งค่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุกกี้ กรุณาคลิกที่“ดูรายละเอียด”