การวางแผนศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น

ทำความรู้จักโรงเรียน

สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น

เป็นสถาบันที่สอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่ผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่
มีหลักสูตรที่เหมาะกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้แต่ละอย่าง เช่น ผู้ที่ต้องการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยหลังจากเรียนภาษาญี่ปุ่น และผู้ที่ต้องการเรียนภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ
เพื่อให้ทันกับการเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอาชีวศึกษาของญี่ปุ่น ต้องมีความสามารถภาษาญี่ปุ่นระดับ N1 หรือ N2 ซึ่งว่ากันว่าเป็นระดับที่ผู้เรียนได้เรียนภาษาญี่ปุ่นประมาณ 600-900 ชั่วโมงขึ้นไป

สถาบันที่จัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่น

1. โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น

โรงเรียนที่ก่อตั้งโดยสถานศึกษานิติบุคคล บริษัทจำกัด ฯลฯ มีโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นประมาณ 600 แห่งทั่วประเทศ และมีคนประมาณ 49,000 คนกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่

คุณสมบัติ

  • นอกจากการเรียนภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานแล้ว ยังมีหลักสูตรที่หลากหลาย เช่น หลักสูตรเพื่อการศึกษาต่อ และหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ
  • หากคุณสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในประเทศของคุณเป็นเวลาไม่ถึง 12 ปี คุณสามารถเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้โดยเรียนที่โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นที่มี"หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา*1"
  • มีการเปิดภาคเรียนในเดือนเมษายนและตุลาคม (บางโรงเรียนมีหลักสูตรที่เริ่มในเดือนมกราคมและกรกฎาคม)

หมายเหตุ) การรับสถานภาพการพำนัก "Student" สามารถทำได้ที่สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดเท่านั้น

* 1 หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษาคืออะไร : เพื่อที่จะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตร 12 ปีขึ้นไปในการศึกษาของโรงเรียนแบบปกติ
หากใช้เวลาไม่ถึง 12 ปีในการจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในประเทศของคุณ คุณสามารได้รับคุณสมบัติในการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย โดยสำเร็จ "หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา" ที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา ไม่เพียงแค่ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังจะได้เรียนวิชาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วย

2. ภาควิชาภาษาญี่ปุ่นของสถาบันอาชีวศึกษา

มีในสถาบันอาชีวศึกษาที่ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละแห่ง

ลักษณะเฉพาะ

  • มีการเปิดภาคเรียนในเดือนเมษายนและตุลาคม
  • นอกจากการเรียนภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานแล้ว ยังมีหลักสูตรเพื่อการศึกษาต่ออีกด้วย
  • ในบางกรณีอาจได้รับสิทธิประโยชน์ในฐานะนักศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษา เช่น ส่วนลดนักศึกษา

หมายเหตุ) การรับสถานภาพการพำนัก "Student" สามารถทำได้ที่สถาบันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดเท่านั้น

3. หลักสูตรพิเศษเฉพาะนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัยเอกชนและวิทยาลัยอนุปริญญา

มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอนุปริญญาได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาด้านเทคนิคพิเศษในระดับง่ายและหลักสูตรที่จัดตั้งขึ้นโดยเน้นการศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติเป็นหลักมักเรียกว่าหลักสูตรพิเศษเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ
หลักสูตรพิเศษเฉพาะนักศึกษาต่างชาติมีหลายประเภท เช่น หลักสูตรการพยาบาล หลักสูตรพิเศษนานาชาติ หลักสูตรพิเศษภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น สิ่งที่สามารถเรียนได้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโรงเรียน แต่ในหลักสูตรพิเศษส่วนใหญ่ จะจัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่นและวิชาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเข้ามหาวิทยาลัย และการศึกษาวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ลักษณะเฉพาะ

  • โรงเรียนหลายแห่งตั้งเป้าที่จะสอนภาษาญี่ปุ่น ญี่ปุ่นปัจจุบัน วัฒนธรรมญี่ปุ่น และวิชาพื้นฐานอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย หรือวิทยาลัยอนุปริญญา
  • บางโรงเรียนสามารถใช้ระบบระบบการรับเข้าเรียนโดยการแนะนำให้กับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอนุปริญญาที่มีหลักสูตรพิเศษ
  • เนื่องจากโรงเรียนบางแห่งมีการศึกษาด้านเทคนิด เช่น หลักสูตรการพยาบาล จึงจำเป็นต้องหาโรงเรียนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
  • มีการเปิดภาคเรียนในฤดูใบไม้ผลิ (ช่วงเดือนเมษายน) และฤดูใบไม้ร่วง (กันยายนหรือตุลาคม)

ค้นหาโรงเรียน

เนื่องจากแต่ละโรงเรียนมีลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติการรับเข้าเรียนที่แตกต่างกัน ดังนั้น โปรดใช้เว็บไซต์หรือ EXCEL ต่อไปนี้เพื่อค้นหาโรงเรียนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของตนเอง

ประเด็นในการค้นหาโรงเรียน!

  • เป็นสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นที่กำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือไม่ (กรณีโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นและภาควิชาภาษาญี่ปุ่นของสถาบันอาชีวศึกษา)
  • มีระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการคืนเงินโดยละเอียดในเว็บไซต์หรือข้อกำหนดการสมัครหรือไม่
  • ฉันสามารถเรียนในชั้นเรียนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของฉตนเองได้หรือไม่?
  • เมื่อแบ่งระดับชั้นเรียนแล้ว ในแต่ละชั้นเรียนมีกี่คน
  • คุณเตรียมพร้อมสำหรับการสอบเพื่อศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น (EJU) และการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) แล้วหรือไม่
  • ที่ที่ศิษย์เก่าไปเรียนต่อคือที่ไหน มีการให้คำปรึกษาด้านเส้นทางอาชีพและการใช้ชีวิตหรือไม่
  • มีหอพักของโรงเรียนหรือที่พักหรือไม่

เอกสารการสมัคร

เอกสารพื้นฐานที่จำเป็นมีดังต่อไปนี้ เอกสารที่ต้องใช้และคุณสมบัติในการเข้าเรียนแตกต่างกันไปในแต่ละสถานศึกษา จึงควรสอบถามรายละเอียดกับสถาบันที่ต้องการเข้าศึกษา

  • ใบสมัครเข้าเรียน เอกสารประวัติส่วนตัว (ตามแบบที่โรงเรียนกำหนด)
  • ใบรับรองการสำเร็จ (หรือคาดว่าจะสำเร็จ) การศึกษาจากสถานศึกษาล่าสุด
  • ใบรับรองผลการศึกษาจากสถานศึกษาล่าสุด
  • เอกสารรับรองความสามารถในการชำระค่าใช้จ่าย
  • เอกสารอื่นๆ

ในเว็บไซต์นี้ จะทำการใช้คุกกี้เพื่อทำการนำเสนอการบริการที่ดีแก่ผู้ใช้งาน
กรณีที่จะรับข้อกำหนดคุกกี้ กรุณาคลิก“ยอมรับ”เกี่ยวกับการตั้งค่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุกกี้ กรุณาคลิกที่“ดูรายละเอียด”