การทำงานในญี่ปุ่น

การหางานในญี่ปุ่น

การสอบเข้าทำงานในญี่ปุ่น

การหางานในญี่ปุ่นมักจะจัดสอบ 3 แบบ: การสอบเอกสาร การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์
การสอบเหล่านี้จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ มารยาท การเตรียมตัวและรับมือล่วงหน้าที่ควรรู้ไว้
ใน chapter นี้ เราจะอธิบายว่าการสอบแต่ละแบบเป็นอย่างไร

การสอบเอกสาร

ในการสอบเข้าทำงานนั้น การสอบแรกที่ถูกจัดขึ้นก็คือการสอบเอกสาร
"เอกสารใบสมัคร" เป็นหนึ่งในเอกสารที่ต้องยื่นในการสอบเอกสาร การส่ง "เอกสารใบสมัคร" ถือเป็นการสมัครสอบเข้าทำงานในบริษัทอย่างเป็นทางการ
ลักษณะเฉพาะของเอกสารใบรับสมัครคือรูปแบบของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน และจำเป็นต้องเขียนประโยคภาษาญี่ปุ่น เช่น "เหตุผลที่ต้องการเข้าบริษัท" และ "เรื่องที่เคยพยายามในสมัยที่เป็นนักเรียน"
ในเอกสารใบสมัคร ควรตอบคำถามของบริษัทด้วยประโยค โดยมีจำนวนตัวอักษรที่กำหนดไว้ (ประมาณ 200 หรือ 400 ตัวอักษร) แต่มักจะได้ยินความคิดเห็นจากนักศึกษาต่างชาติที่มีประสบการณ์การหางานในญี่ปุ่นว่า นั่นเป็นเรื่องที่ลำบากที่สุดแล้ว

ตัวอย่างคำถามในเอกสารใบสมัคร

  • โปรดบอกนิสัยของคุณโดยเปรียบเทียบกับอาหารใน 400 ตัวอักษร (บริษัทอาหาร)
  • หลังจากเข้าบริษัท คุณต้องการ ทำงานแบบไหนเพื่ออุทิศตนให้กับบริษัท (บริษัทการค้า)
  • โปรดบอกเหตุผลที่คุณจำเป็นต่อบริษัทของเรา โดยยกตัวอย่างเรื่องที่คุณเคยพยายามมากที่สุดในสมัยที่เป็นนักเรียน (บริษัทเครื่องจักร)
  • โปรดบอกเรื่องที่คุณเรียนรู้จากความผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา (บริษัทการค้า)
  • หากมีเงิน 300 ล้านเยน คุณอยากทำอะไรเพื่อสันติภาพของโลก (บริษัทสารสนเทศและการสื่อสาร)

การรับมือกับการสอบเอกสาร

สำหรับการรับมือกับการสอบเอกสาร ประเด็นที่บริษัทต้องการตรวจสอบ ในการเขียนเรียงความ เช่น คิดอย่างไรกับกิจกรรมของตนเองที่ผ่านมา ทำอะไรกับสิ่งนั้นบ้าง และคิดอย่างไรกับอนาคต
ดังนั้น การหวนนึกถึงลักษณะพิเศษและประสบการณ์ของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ
นอกจากนี้ ควรค้นคว้าเกี่ยวกับบริษัทที่ต้องการเข้าทำงานไว้ให้ดี และคิดว่าทำไมถึงต้องการเข้าบริษัทนั้น
การเขียนเรียงความจะเป็นต้องใช้เวลา
ควรเตรียมการเขียนเรียงความไว้ทีละเล็กน้อยไว้แต่เนิ่นๆ และ พิสูจน์อักษรไปพร้อมกับปรึกษากับฝ่ายสนับสนุนอาชีพของโรงเรียน โดยทำควบคู่ไป กับการค้นคว้าเกี่ยวกับโรงเรียน

การสอบข้อเขียน

การสอบข้อเขียนจะดำเนินการเพื่อพิจารณาว่านักเรียนมีไหวพริบและความสามารถทางวิชาการถึงระดับที่กำหนดไว้หรือไม่ และมีความสามารถในการคิด ความสามารถในการตัดสินใจ ความเร็วในการทำงาน ความสามารถในการประมวลผล ความแม่นยำที่จำเป็นต่อการทำงานหรือไม่
นอกจากนี้ยังใช้เป็นปัจจัยในการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ ในกรณีที่มีผู้สมัครจำนวนมาก

ข้อสอบข้อเขียนนั้น โดยพื้นฐานจะออกข้อสอบเป็นภาษาญี่ปุ่น และต้องใช้ความสามารถในการอ่านเพื่อทำความเข้าใจภาษาญี่ปุ่น
อาจมีบางบริษัทที่จัดทำข้อสอบและจัดสอบขึ้นมาเอง แต่ก็มีหลายบริษัทที่ใช้ข้อสอบที่จัดทำและจัดการโดยบริษัทที่พัฒนาข้อสอบเข้าทำงาน

ในการสอบมี "การทดสอบความถนัด" "การทดสอบความรู้ทั่วไป" "การเขียนเรียงความ บทความสั้น" แต่โดยทั่วไปหลายบริษัทจะจัด "การทดสอบความถนัด"
แบบทดสอบความถนัดมีข้อสอบที่หลากหลาย มีโจทย์เกี่ยวกับภาษา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ และโจทย์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
แม้ตัวโจทย์จะไม่ยากนัก แต่เนื่องจากต้องแก้โจทย์หลายข้อให้ถูกต้องในเวลาอันสั้น จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัว

ตัวอย่างโจทย์ (SPI3)

เลือกตัวเลือกที่มีความหมายใกล้เคียงที่กับส่วนที่ขีดเส้นใต้ของประโยคตัวอย่างมากที่สุด

(ตัวอย่าง) อย่าหักโหม

① มองการณ์ไกล ② ยาออกฤทธิ์ ③ ถามอาจารย์ ④ มีไหวพริบ ⑤ ฟังดนตรี

มีน้ำเกลือ 3% 200 กรัม และน้ำเกลือ 4% 300 กรัม ความเข้มข้นเมื่อผสมน้ำเกลือ 2 อย่างนี้เป็นกี่%

① 2.6% ② 3.6% ③ 4.6% ④ 5.6% ⑤ 6.6%

เฉลย) (1) ① มองการณ์ไกล (2) ② 3.6%

การรับมือกับการสอบข้อเขียน

อันดับแรกคือค้นหาประเภทของแบบทดสอบความถนัดที่ใช้โดยบริษัทที่ตนเองต้องการเข้าทำงาน
สำหรับบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทยอดนิยม สามารถตรวจสอบผลคะแนนของการทดสอบความถนัดประเภทต่างๆ ที่ใช้ในหนังสือ เช่น "รายงานการเข้าทำงานประจำไตรมาส" และหนังสือเกี่ยวกับการรับมือกับการทดสอบความถนัดได้
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบบริษัทอื่นๆ ได้ในเอกสารรายงานของรุ่นพี่ที่ศูนย์อาชีพของโรงเรียนที่สังกัด

ต่อมา ควรทำความคุ้นเคยกับประเภทของโจทย์ของการทดสอบความถนัดและวิธีแก้โจทย์ จำเป็นต้องรู้จักแนวโน้มและทำความคุ้นเคยกับประเภทของการทดสอบและประเภทของโจทย์ที่ออกสอบ
ควรฝึกฝนด้วยหนังสือเกี่ยวกับการรับมือกับแบบทดสอบความถนัดที่ขายในร้านหนังสือ และรวมโจทย์ที่สามารถนำมาใช้ได้ในอินเทอร์เน็ต
สุดท้าย ควรทำความคุ้นเคยกับเวลาที่จำกัดในการทดสอบความถนัด
ความยากของการทดสอบความถนัดคือต้องแก้โจทย์หลายข้อในระยะเวลาอันสั้น
เนื่องจากจำเป็นต้องแก้โจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ การตระหนักเรื่องเวลาตั้งแต่ฝึกฝน และทำความคุ้นเคยกับเวลาที่จำกัดอยู่เสมอจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ

การสอบสัมภาษณ์

โดยทั่วไปการทดสอบสัมภาษณ์ในญี่ปุ่นจะจัดขึ้น 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 บริษัท เหตุผลในการจัดสอบหลายครั้งคือให้คนจากตำแหน่งที่หลากหลายพิจารณาบุคลิกภาพและความคิดของผู้สมัคร และดูให้แน่ใจว่าพวกเขาเป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีสำหรับบริษัทนั้นหรือไม่
นอกจากนี้การสัมภาษณ์ในญี่ปุ่นยังมีหลายรูปแบบ
โดยทั่วไป หลายบริษัทจัดสอบสัมภาษณ์ 3 รูปแบบ ได้แก่ "การอภิปรายกลุ่ม" "การสัมภาษณ์กลุ่ม" และ "การสัมภาษณ์รายบุคคล"

ตัวอย่างคำถามในการสัมภาษณ์

  • เคยใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเราหรือไม่ และได้รับความประทับใจแบบไหน
  • สิ่งที่คาดหวังจากบริษัทหรืองานคืออะไร
  • โปรดบอกเหตุผลว่าทำไมถึงมาศึกษาต่อในญี่ปุ่น (ทำไมถึงอยากทำงานในบริษัทญี่ปุ่น)
  • คิดว่าอยากทำงานในญี่ปุ่นนานแค่ไหน

การอภิปรายกลุ่ม

เป็นการสัมภาษณ์โดยนำกลุ่มคน 4-6 คนมาจับกลุ่ม 1 กลุ่มเพื่ออภิปรายในกลุ่มเกี่ยวกับหัวข้อที่บริษัทมอบให้
ผู้สัมภาษณ์จะคอยดูสถานการณ์ และประเมินอย่างเป็นกลาง มีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบว่าแต่ละคนจะแสดงออกในกลุ่มอย่างไร

การสัมภาษณ์กลุ่ม

จัดโดยบริษัทที่มีผู้สมัครจำนวนมาก เพื่อจำกัดจำนวนผู้สมัครจนเหลือจำนวนที่สามารถสัมภาษณ์รายบุคคลได้
ลักษณะเฉพาะของการสัมภาษณ์กลุ่มที่การสัมภาษณ์รายบุคคลไม่มี เช่น "เวลาตอบต่อคนสั้น" และ "ถูกเปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่น"
เกี่ยวกับเนื้อหาของการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์จะถามคำถามกับผู้สมัครตามเอกสารใบสมัครและใบประวัติส่วนตัวที่ส่งมาก่อนหน้า และผู้สมัครจะตอบคำถามตามลำดับ

การสัมภาษณ์รายบุคคล

ต่างจากการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เวลาทำความเข้าใจลักษณะพิเศษ ของคน 1 คนอย่างถี่ถ้วน
ผู้สัมภาษณ์ไม่เพียงแค่ตรวจคำตอบของคำถามเท่านั้น แต่ยังตรวจสอบทัศนคติ ท่าทาง การแสดงออกทางสีหน้า และวิธีการพูดด้วย
ผู้สัมภาษณ์จะถามคำถามกับผู้สมัครตามเอกสารการสมัครและประวัติย่อ และตอบคำถาม
ในตอนแรกจะเป็นการถามเกี่ยวกับเนื้อหาของใบประวัติส่วนตัวและเอกสารในสมัคร จากนั้นจะได้รับคำถามที่ถามเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดของเนื้อหาดังกล่าว

การรับมือกับการสอบสัมภาษณ์

ในการสัมภาษณ์ จะมีการขอให้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาที่ระบุไว้ในเอกสารใบสมัคร ควรเตรียมตัวตอบคำถามในหัวข้อที่คาดว่าจะถูกถามในการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้า
ในการ PR ตัวเองนั้น จะมีการขอให้อธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ง่ายในช่วงเวลาสั้นๆ
ควรฝึกฝนให้สามารถตอบคำถามได้ตามลำดับต่อไปนี้ ข้อสรุป ⇒ เล่าเรื่อง ⇒ สรุปความ
ในการฝึกสัมภาษณ์ ให้บันทึกเนื้อหาที่กำลังพูดในโทรศัพท์มือถือ แล้วลองฟังดู
ควรตรวจสอบสายตา วิธีพูด และเนื้อหาที่กำลังพูด แล้วแก้ไข
นอกจากนี้ การฝึกฝนโดยขอให้เพื่อนและเจ้าหน้าที่ของศูนย์อาชีพในโรงเรียนทำหน้าที่เป็นผู้คุมสอบสัมภาษณ์จำลองก็ถือเป็นสิ่งคำคัญเช่นกัน

ไปยัง "Chapter5. สถานภาพการพำนัก"

(ตรวจทานโดย คูโบตะ มานาบุ นักวิจัยรับเชิญ องค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น)

อ้างอิง

ในเว็บไซต์นี้ จะทำการใช้คุกกี้เพื่อทำการนำเสนอการบริการที่ดีแก่ผู้ใช้งาน
กรณีที่จะรับข้อกำหนดคุกกี้ กรุณาคลิก“ยอมรับ”เกี่ยวกับการตั้งค่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุกกี้ กรุณาคลิกที่“ดูรายละเอียด”