การทำงานในญี่ปุ่น

การหางานในญี่ปุ่น

การหางานในญี่ปุ่นนั้น เป็นการจ้างงานที่มีรูปแบบต่างจากทั่วโลก ไม่มีประเทศอื่นประเทศไหนที่มีรูปแบบการจ้างงานเหมือนกับญี่ปุ่น
นอกจากนี้ จะจัดการจ้างงานภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ด้วยวิธีคัดเลือกเดียวกันทั้งนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาญี่ปุ่น สรุปคือต้องแข่งขันกับนักศึกษาชาวญี่ปุ่นเพื่อตำแหน่ง
เกี่ยวกับบริษัทที่มีหุ้นต่างประเทศรวมอยู่ด้วยนั้น มีกรณีที่จัดการจ้างงานโดยเกือบจะเหมือนของบริษัทญี่ปุ่นอยู่เยอะ
ด้วยเหตุนี้ หากจะหางานในญี่ปุ่น จะต้องทำการหางานโดยทำตามกฎในการหางานของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทญี่ปุ่นหรือบริษัทที่มีหุ้นต่างประเทศรวมอยู่ด้วย

ลักษณะเฉพาะของการหางานในญี่ปุ่น

จ้างนักศึกษาจบใหม่พร้อมกันทีเดียว

"การจ้างนักศึกษาจบใหม่"คือการจ้างงานโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา แล้วเริ่มทำงานเป็นครั้งแรก
ในการหางานในญี่ปุ่น จะมี วิธีจ้างงานแบบ "การจ้างนักศึกษาจบใหม่" โดยเฉพาะ จะหาพนักงานจากนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาพร้อมกันทีเดียวทุกปี และทำการ จ้างงานตั้งแต่ตอนที่นักศึกษายังเรียนอยู่

เข้าบริษัทเดือนเมษายน

หลายประเทศทั่วโลกจะเข้าศึกษาในเดือนกันยายนเป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอาชีวศึกษาของญี่ปุ่นจะเข้าศึกษาในเดือนเมษายน และจบการศึกษาในเดือนมีนาคม ด้วยเหตุนี้ นักศึกษาที่จบการศึกษาในเดือนมีนาคม จะเข้าบริษัทในวันที่ 1 เมษายน และเริ่มต้นการทำงาน

กำหนดการการหางาน

การหางานในญี่ปุ่นนั้น บริษัทจำนวนมากจะจัดการจ้างงานด้วยกำหนดการเดียวกัน
นอกจากนี้ การหางานในญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้วจะเริ่มไวกว่า
การหางานในญี่ปุ่น มีลักษณะเฉพาะคือจะใช้ระยะเวลานาน ปัจจุบันในปี 2024 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมปีการศึกษาก่อนหน้าปีการศึกษาสุดท้าย 1 ปี (นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 นักศึกษาปริญญาโทชั้นปีที่ 1 นักศึกษาปริญญาเอกชั้นปีที่ 2) และเสร็จสิ้นหลังจากนั้น 4 เดือน คือช่วงกลางเดือนมิถุนายน

การทดสอบเพื่อจ้างงาน

การทดสอบเพื่อจ้างงานในบริษัทญี่ปุ่นนั้น มีบริษัทที่จัดสอบข้อเขียนวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษอยู่เยอะ
นอกจากนี้ มีกรณีที่ให้กรอกเรียงความภาษาญี่ปุ่นในโปรไฟล์ชีทอยู่เยอะ เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ จะมีการสอบสัมภาษณ์หลายประเภท 1 บริษัทมีอย่างน้อย 3 ครั้ง

มาตรฐานการจ้างงานของบริษัทญี่ปุ่น

เกี่ยวกับมาตรฐานการจ้างงาน สามารถเห็นแนวโน้มที่ต่างกันของมาตรฐานการประเมินระหว่างบริษัทต่างชาติและบริษัทญี่ปุ่นได้
ในบริษัทต่างชาติ เกี่ยวกับมาตรฐานการขึ้นตำแหน่งและการขึ้นเงินเดือนนั้น มีบริษัทที่ประเมินโดยใช้ระบบ "เน้นความสำเร็จ" โดยดูจากความสำเร็จของความสามารถและงาน รวมถึงผลงานของคนคนนั้นอยู่มาก ตอนที่จ้างงานก็จะหาบุคลากรที่สามารถเริ่มงานได้ทันที
ด้วยเหตุนี้ มาตรฐานที่ควรประเมินคือ ความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัย และทักษะที่ได้จากการฝึกงาน
ในทางตรงกันข้าม เนื่องจากมีธรรมเนียมการพัฒนาบุคลากรเป็นเวลานานเมื่อเทียบกับบริษัทต่างชาติ จึงจะทำการจ้างงานบุคลากรที่สามารถคาดหวังให้เติบโตได้หลังเข้าบริษัท
ภาพด้านล่างคือ ผลจากแบบสำรวจสอบถามหัวข้อที่บริษัทให้ความสำคัญในการจ้างงาน
บริษัทญี่ปุ่นนั้น จะประเมินศักยภาพจากความสามารถในการสื่อสาร มีความคิดริเริ่ม การให้ความร่วมมือ และชอบท้าทายสิ่งใหม่ๆ มากกว่าผลการเรียน ความเชี่ยวชาญ และความสามารถทางภาษา

ภาพที่ 1

แหล่งที่มา : สมาคมองค์กรเศรษฐกิจญี่ปุ่น "แบบสำรวจสอบถามที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ประจำปี 2018"

การจ้างจากศักยภาพ

ศักยภาพมีความหมายว่า "แต่เดิมมีความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ เป็นผู้ที่มีอนาคต"
เป็นวิธีในขั้นตอนการจ้างงาน ต่อให้ไม่มีทักษะหรือความรู้เชิงปฏิบัติการในการปฏิบัติ งานทันที แต่ก็จ้างงานคนคนนั้นโดยประเมินจากความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่และเป็นผู้ที่มีอนาคต
บริษัทญี่ปุ่นนั้น มีแนวโน้มที่จะจ้างบุคลากรที่ดูมีความเป็นไปได้ที่จะทำผลงานได้ในอนาคต ไม่ใช่ผู้ที่เริ่มงานได้ทันที ด้วยการเตรียมความพร้อมด้วยระบบการเรียนรู้ที่เตรียมมาอย่างดีหลังเข้าบริษัท

รูปแบบการจ้างงานของบริษัทญี่ปุ่น

ที่ญี่ปุ่น โดยทั่วไปจะทำการจ้างงานแบบเมมเบอร์ชิปเป็นหลัก
การจ้างงานแบบเมมเบอร์ชิปนั้น เป็นรูปแบบการจ้างงานที่ไม่จำกัดทั้งหน้าที่ในงาน สถานที่ทำงาน และชั่วโมงการทำงาน
หลักๆ จะมีลักษณะพิเศษคือประเมินความสามารถจากความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมดได้ในฐานะเจเนรัลลิสต์
เป็นรูปแบบการหางานที่มีเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งมองหาวิธีการทำงานที่ไม่มีขีดจำกัด โดยตรงข้ามกับการจ้างงานและการให้สวัสดิการที่ตายตัว
บริษัทจะรับบุคลากรจำนวนมากด้วยการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ครั้งเดียว จากนั้นจะจัด OJT (On-the-Job Training)และการศึกษาด้วยการค้นคว้าในบริษัท และให้สั่งสมความรู้รวมถึงประสบการณ์ที่จำเป็นในหน้าที่นั้น
เนื่องจากไม่ได้จำกัดขอบเขตหน้าที่ในงาน สถานที่ทำงาน จึงมีลักษณะเด่นคือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งบุคลากรตามความสะดวกของบริษัท
ด้วยเหตุนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่จะไม่สามารถเข้าทำงานได้ตามประเภทงานและที่ทำงานที่ผู้สมัครงานต้องการ
จากรูปแบบการจ้างงานเหล่านี้ ในประเภทงานในข้อมูลการหาพนักงานของบริษัทจะกรอกไว้ว่า "ผู้รับผิดชอบทั่วไป"
ในทางตรงกันข้าม โดยทั่วไปในต่างประเทศจะใช้รูปแบบการจ้างงานแบบจ็อบเป็นหลัก รูปแบบการจ้างงานแบบจ็อบคือ รูปแบบการจ้างงานที่จำกัดหน้าที่หรือสถานที่ทำงาน
มีลักษณะเฉพาะคือทำให้เงื่อนไขในหน้าที่มีความชัดเจน และประเมินความสามารถในฐานะสเปเชี่ยลลิสต์เป็นหลัก
จะกำหนดการจ้างงานต่อหรือสวัสดิการโดยอิงจากความสามารถในการดำเนินงานหรือทำงานนั้นๆ ต่อไป
บริษัทสามารถหาพนักงานที่มีความสามารถมากและมีความเชี่ยวชาญสูงได้ แต่เนื่องจากทำสัญญากับพนักงานด้วยขอบเขตหน้าที่ที่เฉพาะเจาะจง กรณีที่ไม่ต้องการงานนั้นแล้วเนื่องจากสถานการณ์การจัดการบริษัทและนโยบายมีการเปลี่ยนแปลง จึงอาจจะสิ้นสุดสัญญาโดยไม่
เปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ด้วยเหตุนี้ จึงพูดได้ว่าพนักงานมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียงาน

ไปยัง Chapter3. กำหนดการในการหางาน

(ตรวจทานโดย คูโบตะ มานาบุ นักวิจัยรับเชิญ องค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น)

อ้างอิง

ในเว็บไซต์นี้ จะทำการใช้คุกกี้เพื่อทำการนำเสนอการบริการที่ดีแก่ผู้ใช้งาน
กรณีที่จะรับข้อกำหนดคุกกี้ กรุณาคลิก“ยอมรับ”เกี่ยวกับการตั้งค่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุกกี้ กรุณาคลิกที่“ดูรายละเอียด”